วิธีธรรมชาติของชาวฮันซา
นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกหลายกลุ่ม ได้ประเมินอายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ประมาณ 100-150 ปี โดยอาศัยหลักการต่างๆ กันดังนี้
นายแพทย์ชาลี คำนวณอายุของมนุษย์ว่าอย่างน้อยต้อง 110 ปี สาเหตุหลักที่มนุษย์เราเสียชีวิตก่อนอายุขัย เนื่องจากการบริโภคเนื้อสัตว์ในปริมาณที่มากเกินความต้องการ ทำให้โปรตีนและไขมันจากเนื้อสัตว์บูดเน่าเสียในลำไส้ใหญ่ ไปเกาะตามผนังลำไส้ทำให้เกิดการอุดตัน และพิษจากเนื้อสัตว์ไหลย้อนกลับเข้าไปสู่กระแสเลือดแผ่กระจายไปทั่วร่างกายเกิดการเจ็บป่วย
นายแพทย์โธมัส การ์ดเนอร์ บอกว่าสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมมีอายุขัยเฉลี่ยอย่างน้อย 7 เท่า ของอายุเมื่อเริ่มผสมพันธุ์ได้ ดังนั้นหากมนุษย์เราถ้าเริ่มสืบพันธุ์ได้เมื่ออายุ 15-16 ปี ควรมีอายุขัยอย่างต่ำ 105-112 ปี ต่อมาภายหลังพบว่า ข้อมูลได้เปลี่ยนเป็น 8 เท่าแล้ว อายุควรเป็น 120-128 ปี
นายแพทย์จาวิสและคณะฯ ศึกษาในสัตว์หลายชนิดพบว่ามีอายุขัยเฉลี่ยเป็น 5 เท่าของอายุเมื่อสัตว์นั้นเจริญวัยเต็มที่ ดังนั้นในมนุษย์ที่มีอายุเจริญวัยเต็มที่ประมาณ 20-25 ปี จึงควรมีอายุขัย 100-125 ปี
ดร.เฮฟลิค คำนวณว่าเซลล์ไฟโบรบลาสท์ (Fibroblast) ของมนุษย์โดยเฉลี่ยแบ่งตัวได้ 50 ครั้ง แต่ละครั้งมีอายุนานประมาณ 2 ปี อายุของมนุษย์ควรยืนยาวอย่างน้อย 50 x 2 = 100 ปี แต่แพทย์จีนคำนวณว่าเซลล์นี้แบ่งตัวได้ 75 ครั้ง อายุจึงควรยืนยาว 75 x 2 = 150 ปี
ชาวฮันซา (Hunza) อาศัยอยู่ที่เชิงเขาหิมาลัยตอนเหนือของประเทศปากีสถานล้อมรอบด้วยอาณาเขตของประเทศจีนทางทิศตะวันออก และสหภาพโซเวียต (เดิม) ทางทิศเหนือ ชาวฮันซามีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 120 ปี และมีจำนวนมากที่อายุเกิน 130 ปี และ 140 ปี โดยที่มีร่างกายแข็งแรง เดินได้ ทำงานได้ คนสูงอายุชาวฮันซายังมีฟันแท้อยู่เต็มปาก ชาวฮันซาไม่เป็นโรคฟันผุเลย ดร. เจย์ ฮอฟแมน ได้สำรวจชาวฮันซามีประชากรกว่า 3 หมื่นคน ในปีค.ศ. 1961 และมีจำนวนเพิ่มขึ้น ประมาณ 6 หมื่น คนในปีค.ศ. 1982
ใกล้ๆ กับชาวฮันซาคือชาวนาเกอร์ (Nagir) มีประชากรสองหมื่นห้าพันคน (ค.ศ. 1961) นอกจากนี้ยังมีเผ่าอื่นๆ เช่น อับกาเซียน (Abkhasian) วิลคาแบมบัน (Vilcabmban) กลุ่มนักบวชเทียนฉาน (Tian Shan) เซ้าท์อเมริกาอินเดียน(South American Indian) ชาวเขาในประเทศเปรู และชาวเขาโอโตมิ(Otomi) เป็นต้น
เดือนมีนาคม ค.ศ. 1961 ได้มีการตีพิมพ์บทความชาวฮันซาลงในวารสารแพทย์“Journal of the American Medical Association”... เรื่องชนชาวฮันซามีอายุยืนยาวเป็นปกติ 120ปี และมีจำนวนมากที่มีอายุถึง 140 ปี สมาคมแพทย์อเมริกาได้ส่ง ดร. เจย์ มิลตัน ฮอฟแมน ให้ไป ทำการวิจัยชาววิจัยชาวฮันซาจนได้รับรางวัลออสการ์ (Oscar Award) จากสมาคมแพทย์สหรัฐอเมริกาสาขาแพทย์ศาสตร์ดูแลผู้สูงอายุ (National Geriatrics Society) เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1962 ณ. กรุงวอชิงตัน ดีซี
ชาวฮันซา (Hunza) อายุระหว่าง 120 – 140 ปี
ต่อมาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1963 มีการประชุมแพทย์นานาชาติทั่วโลก สาขาวิทยาศาสตร์ในวัยชรา (Gerontology) ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ค มีแพทย์เข้าประชุมกว่าหนึ่งพันคน มีรายงานวิจัยกว่า 500 เรื่อง และสรุปได้ว่ามนุษย์ มีอายุขัยเฉลี่ยที่ถูกต้องคือ 120 ปี และอาจอยู่ต่อไปได้ถึง 140 ปี หรือ 150 ปี โดยที่ร่างกายไม่ได้ทรุดโทรมหรือเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย (....Not senile nor sick with diseases) นั่นคือหมดลมหายใจไปเอง เพราะเป็นการเสียชีวิตเนื่องจากเซลล์ หมดอายุขัยของมันตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นแบบการเสียชีวิตของชาวฮันซานั่นเอง
ฉะนั้นกลุ่มมนุษย์อายุยืนที่สุดเกินร้อยปีโดยเฉพาะคือ ชาวฮันซา จึงเป็นตัวอย่าง ที่เราควรจดจำวิธีการดำเนินชีวิตตามในส่วนที่เราสามารถทำตามได้ใน 2 ประการ คือ การหายใจและพฤติกรรมในการบริโภคอาหาร
ภาพงานเต้นรำของชาวฮันซา (Hunza) ที่มีอายุระหว่าง 120 – 140 ปี
เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่าประชาชนชาวศิวิไลซ์ทั่วโลก เสียชีวิต
อันดับ หนึ่ง ด้วย โรคหัวใจ
อันดับ สอง มะเร็ง
อันดับ สาม โรคเกี่ยวกับเส้นเลือด นอกจากนี้ยังต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคกระดูกผุ ข้อต่อกระดูกอักเสบ แถมด้วยโรคเหงือกและฟัน ในประเทศ สหรัฐอเมริกา
อันดับ สี่ ของการเสียชีวิตด้วยโรค อัลไซเมอร์ (โรคความจำเสื่อมชนิดหนึ่ง) ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตที่ทุกทรมานที่สุด ในขณะนี้ โรคต่างๆเหล่านี้ไม่ปรากฏให้เห็นในชาวฮันซา
ชาวฮันซาไม่บริโภคเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก
ภาพการร้องเพลงของชาวฮันซา (Hunza) ที่มีอายุระหว่าง 120 – 140 ปี
ทำไมชาวฮันซาไม่บริโภคเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก คำตอบคือไม่มีเนื้อสัตว์ในดินแดนฮันซานั่นเอง ชาวฮันซามีโอกาสรับประทานเนื้อแพะภูเขาเพียงปีละ 1-2 ครั้งเท่านั้น ซึ่งจะมีในงานพิธีประจำปี เช่น มีงาน สมรสหมู่ปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้เพราะไม่มีต้นหญ้าเพียงพอที่จะเลี้ยงสัตว์ได้ การเลี้ยงสัตว์เป็นอาหารจึงมีข้อจำกัดมาก ต้องได้รับอนุญาตเป็นเฉพาะรายเท่านั้น แม้แต่การเลี้ยงสัตว์ เช่น สุนัข และแมว
ภาพการเต้นรำในพิธีประจำปีของหญิงสาวชาวฮันซา (Hunza) ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี
ปัจจุบันคนไทยบริโภคเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลักตามแบบชาวตะวันตกมาประมาณ 60 ปีแล้ว ตำราแพทย์รุ่นนี้เขาสอนให้รับประทานเนื้อ นม ไข่ ซึ่งไม่ได้ผิดอะไรเพราะเป็นประโยชน์ แต่ที่มาพลาดคือ เป็นเนื้อ นม ไข่ ที่เป็นแบบธุรกิจไม่เป็นธรรมชาติ แต่เป็นสัตว์ที่ถูกขังและขุนด้วยสารเคมี ด้วยจุดประสงค์คือ รับประทานอร่อยได้น้ำหนัก เจ้าของธุรกิจต่างพากันร่ำรวย แต่ผู้บริโภคกลับล้มป่วยและอายุสั้นเพราะสารพิษเหล่านี้ตัวอย่าง เช่น ชนิดของสารเคมี
ชนิดของสารเคมี
วัวเลี้ยงด้วย | สารดีอีเอส (DES) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง |
ยาปฎิชีวนะ |
หมูเลี้ยงด้วย | เลนดอน ซัลบูทา |
ยาปฎิชีวนะ |
ไก่เลี้ยงด้วย | ฮอร์โมน (ฝังหัวไก่) |
ยาปฎิชีวนะ |
ชาวฮันซารับประทานพืชผักผลไม้วันละกว่าหนึ่งกิโลกรัม ส่วนใหญ่เป็นของสดทั้งสิ้น ชาวฮันซาไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มีน้ำมันเชื้อเพลิง ไม่มีเตาแก๊ส แม้แต่น้ำมันก๊าซและเทียนไขก็เป็นของต้องห้ามในดินแดนฮันซา การหุงหาอาหารจะทำเท่าที่จำเป็นเพราะเชื้อเพลิงคือ ไม้ฟืนเป็นของหายาก ไม่มีพื้นที่เพียงพอต่อการเพราะปลูกข้าวจ้าว ข้าวเหนียวได้ แต่มีข้าวสาลีมาทำขนมปังได้ไม่มากนัก และนำนมแพะเอามาทำเป็นโยเกิร์ต
การปลูกพืชแบบขั้นบันไดของชาวฮันซา (Hunza)
การบริโภคอาหารพืชผลไม้สด มีผลทำให้ชาวฮันซาถ่ายอุจจาระเฉลี่ยวันละ 3-4 ครั้ง เป็นการล้างพิษทางธรรมชาติที่ดีมาก
ความสำคัญของพืชผักผลไม้มีมากมาย กล่าวคือมนุษย์ที่มีอายุยืนเกินร้อยปี โดยมีสุขภาพแข็งแรงอย่างชาวฮันซา ล้วนแต่บริโภคพืชผักผลไม้เป็นอาหารหลักมาตลอดหลายชั่วอายุคน
การดำเนินชีวิตของชาวฮันซา จึงเป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับผู้ที่รักสุขภาพ
|